มี Technology เกี่ยวกับ Data Storage มากมาย solution ก็มีหลากหลาย ขึ้นกับความต้องการ ความเหมาะสมกับลักษณะของงาน ของการเก็บข้อมูล และงบประมาณ ดังนั้น เราจึงต้องถามตัวเองก่อนจะตัดสินใจเลือก data storage 4 คำถามหลักๆ ที่ควรหาคำตอบ เพื่อเอามาออกแบบระบบ และกำหนดขนาด ความเร็ว มีพอสังเขป ดังนี้
1. ขนาดของ storage ที่ต้องการ
คุณต้องเข้าใจว่าขนาด storage ที่คุณใช้อยู่ตอนนี้เท่าไหร่ และประมาณการในอนาคตที่ต้องใช้อีกเท่าไหร่ เพื่อที่จะซื้อ storage ที่เหมาะสมกับความต้องการ อีกทั้งคุณต้องพิจารณาเรื่องความเร็วในการ read / write คุณจำเป็นต้องใช้ flash-based หรือ disk แบบเดิม รวมถึงการบีบอัด และลบข้อมูลซ้ำจำเป็นไหมสำหรับการลดพื้นที่ ลดต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูล
4 คำถามสำคัญเพื่อการกำหนด Data Storage ที่เหมาะสมกับความต้องการ
2. ความเร็วในการทำงานของ storage ในระดับ user และองค์กรคุณต้องประเมินว่าผู้ใช้งานควรจะต้องใช้ความเร็วเท่าไหร่ในการทำงาน องค์กรทำงานอยู่บนขนาดข้อมูลใหญ่หรือไม่ มี application ใดบ้างที่ใช้งานอยู่ ใช้ซอฟท์แวร์ที่เป็น 2-tier หรือ 3-tier (Database ติดตั้งแยกกับ application) ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณเลือกประเภทของ disk อย่างเหมาะสม
3. การจัดการ backup
การจัดเก็บข้อมูลบน disk อย่างเดียวไม่ใช่วิธีการที่ดี อาจจะมีพายุ ไฟไหม้ การโขมย ที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณได้ หลักมาตรฐาน คือ ต้องมีชุดข้อมูลสำรองหลายชุด ตัวอย่างเช่น
· ทำ Snapshots บน storage
· ทำ local backup ทั้งระดับ file และ image โดยแยก device
· ทำ offsite backup ทั้งระบบ files และ image ซึ่งจะต้องจัดเตรียม Internet หรือ WAN ในการเชื่อมต่อ โดยขนาด bandwidth ก็ควรจะต้องเพียงพอในการทำการ backup ภายใน 24 ชั่วโมง
· มีข้อมูลชุดสำรองหลายชุดซึ่งจำเป็นในเวลาที่คุณต้องการ recover data ให้ทันเวลาที่กำหนด
o RPO (Recovery Point Objective) ข้อมูลสุดท้ายที่ต้องการ เช่น ข้อมูลย้อนหลัง 1 วัน หรือ ข้อมูลย้อนหลัง 7 วัน
o RTO (Recovery Time Objective) เวลานานสุดที่รับได้ในการ recovery data
4. IT Infrastructure ณ ปัจจุบัน มีลักษณะอย่างไร เช่น
· อายุของ servers แต่ละตัว ถ้าเกิน 5 ปี ก็ควรจะพิจารณาเปลี่ยน server หรือ เปลี่ยนระบบจาก physical เป็น VM หรือ Hyperconverged
· จำนวนทีมงานฝ่ายไอที ถ้ามีคนน้อยยิ่งต้องมองหาระบบที่สามารถจัดการผ่าน remote จัดการจากศูนย์กลางได้ และควรใช้ hardware ที่มีระบบตรวจสอบตัวเอง โทรหาผู้ให้บริการด้วยตัวระบบเอง เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าระบบสามารถทำงานได้ 7 x 24
สรุป
สิ่งที่ต้องทำ คือ
· ตรวจสอบความต้องการทั้งขนาด ความเร็ว และความต้องการในการ back up
· ทบทวนขนาดความต้องการ และ หาข้อสรุป
· วางแผนในการนำเสนอให้ผู้บริหาร (เข้าใจและอนุมัติให้ทำ)